หลักสูตรครุบัณฑิต : สาขาศิลปศึกษา
สาขาวิชา ศิลปศึกษา
ชื่อหลักสูตร หลักสูตรครุบัณฑิต
ชื่อปริญญา ครุศาสตร์บัณฑิต (วิชาเอกศิลปศึกษา)
หลักสูตร 4 ปี
ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรสาขาศิลปศึกษา เป็นศาสตร์และศิลป์ในการผลิตครูชั้นวิชาชีพ ที่มีความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ในงานศิลปะ ส่งเสริมการศึกษาปละพัฒนาความรู้ความสามารถ โดยประกอบวิชาชีพครู เป็นศาสตร์ที่สามารถบูรณาการศิลปวัฒนธรรม และขบนบธรรมเนียมประเพณีทางสังคมและท้องถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน บทบาทของครูศิลปะในโรงเรียนตั้งแต่ระดับประถมจนถึงชั้นมัธยมจำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้และทักษะจากครูที่จบทางด้านศิลปะโดยตรงเพื่อให้ กระบวนการเรียนรู้ทางด้านความงามไปสู่เป้าหมาย และความสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
หลักสูตรสาขาวิชาศิลปศึกษา ผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี 4 ปี ในระดับอุดมศึกษา เพื่อให้ไปประกอบอาชีพครูศิลปะโดยตรง กระบวนการเรียนการสอนจึงเต็มไปด้วยความเข้มข้นทั้งภาคทฤษฎีที่เป็นวิชาชีพครู และทฤษฎีทางศิลปะ ที่ประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระที่สำคัญ 4 แกนด้วยกันคือ 1. ประวัติศาสตร์ศิลปะ (Art History) 2. ศิลปวิจารณ์ (Art Criticism) 3. สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) 4. ศิลปะปฏิบัติ (Art Skill) บัณฑิตสาขาศิลปศึกษา จึงต้องพร้อมไปด้วยความรู้ความสามารถในทางศิลปะเพื่อสอนนักเรียนในแต่ละช่วงชั้นตามพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ และสังคม ดังวิสัยทัศน์ของหลักสูตรสาขาที่ “เก่งสร้างสรรค์ เชี่ยวชาญงานศิลป์ รักษ์ท้องถิ่น ตามวิถีพุทธทาส”
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชานี้สามารถประกอบอาชีพ ดังนี้
- เป็นครูสอนศิลปะในชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และอาชีวศึกษาในหน่วยงานของรัฐ เอกชน
- เป็นครูสอนศิลปะอิสระ เช่น โรงเรียนกวดวิชาทางศิลปะ
- สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับธุรกิจทางศิลปะ เช่น ทำป้าย ออกแบบกราฟิก สื่อสิ่งพิมพ์ โฆษณา การทำบาติก การทำมัดย้อม ออกแบบเว็ปสินค้าออนไลน์ ศิลปินอิสระ ช่างเขียน ฯลฯ เป็นต้น เพื่อประโยชน์เสริมรายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชน
คุณสมบัติเฉพาะสาขาวิชา
- เป็นผู้กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ เทียบเท่า ปวช./อาชีวะ ทางด้านศิลปะและสาขาที่เกี่ยวข้อง
- ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 4 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.50
- ผลการเรียนเฉลี่ยรายวิชาศิลปะ (GPA) 4 ภาคเรียนไม่ต่ำกว่า 3.00
- มีผลงานโดดเด่นทางด้านศิลปะ เช่น ผ่านเวทีหรือได้รับรางวัลในการประกวดแข่งขันวาดภาพ/ทักษะทางวิชาการ/ศิลปหัตถกรรมมาแสดง
- ผ่านกระบวนการสนทนากลุ่ม (Focus Group)
- ผ่านการสอบข้อเขียนเพื่อวัดแววความเป็นครู
- ผ่านการสอบสัมภาษณ์